วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ระบบ MATV

ระบบ MATV หรือ Master Antenna Television อันหมายถึงการกระจายสัญญาณทีวีไปยังห้องต่างๆภายในอาคารเดียวกันหรือในกลุ่มอาคารบริเวณใกล้เคียงกันโดยใช้สายอากาศเพียงชุดเดียว ระบบนี้จึงเป็นที่นิยมใช้ตาม หอพัก อพาร์ทเม้น รีสอร์ท คอนโดมิเนียม โรงแรมเป็นต้น

MATV ประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วนคือ

1.ส่วนรับสัญญาณทีวีเข้าระบบ
นั้นคือส่วนรับสัญญาณเป็นจานดาวเทียม โดยการมีจานดาวเทียมนี้จะทำให้คุณภาพของสัญญาณดีมาก คมชัดทุกช่อง ไม่เป็นเงา ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงและภาพ เราสามารถตั้งจานหลักๆ เพียงจานเดียวก็รับสัญญาณได้หลายๆ ข่อง แต่จะต้องมีการติดตั้งเครื่องรับหรือ Receiver จำนวนมากเพื่อแปลงสัญญาณดาวเทียมให้เป็นสัญญาณทีวีเพื่อส่งไปยังระบบสายสัญญาณของอาคารต่อไป

2. ภาคขยายสัญญาณทีวี 
เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วทีวีแต่ละเครื่องจะรับสัญญาณได้ดีที่ความแรงของสัญญาณ 60 – 80 dB หากน้อยกว่า 60 dB ภาพจะมีการรบกวนมากจะเป็นเม็ดๆ หรือเรียกตามระบบทีวีอนาลอกว่าเป็นหิมะ (Snow) หากมากเกิน 80 dB ภาพจะหยาบสีเข้มเกินไป เกิดการเหลื่อมของสีมาก โดยทั่วไปแล้วจะมีการออกแบบให้มีความแรงสัญญาณอยู่ประมาณ 70 dB การขยายสัญญาณก่อนส่งผ่านไปยังระบบสายส่ง มักจะมีการขยายสัญญาณขึ้นไปถึง 90 – 110 dB ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบ เพื่อชดเชยการสูญเสียสัญญาณตามจุดต่างๆ ให้เหลือที่ปลายทางทุกจุดอยู่ในช่วง 70 dB ตามที่กล่าวข้างต้น

3.ส่วนกระจายสัญญาณทีวีไปจุดต่างๆ
– Tap-off เป็นการแยกสัญญาณจากสายส่งหลักไปยังตัวกระจายสัญญาณไปตามห้องอีกที ซึ่งอาจจะมีทั้งแบบ 2 ทางไปจนถึง 4 ทาง การสูญเสียสัญญาณที่นี่ (Tap loss) จะมีตัวเลขสูงเนื่องจากเป็นตัวแบ่งสัญญาณหลักๆ สายสัญญาณที่ใช้ในช่วงนี้จะเป็นแบบ RG-11
– Splitter ตัวแยกสัญญาณไปยังแต่ละห้องอีกทอดหนึ่ง สัญญาณที่มาจาก Tap-off จะผ่านตัว Splitter อีกทีอันเป็นด่านสุดท้ายที่จะแยกไปตามห้องต่างๆ ยิ่งมีการแยกสัญญาณเยอะ การสูญเสียสัญญาณ (Insertion loss) ก็จะเยอะตามไปด้วย สายสัญญาณที่ใช้ในช่วงนี้จะเป็นแบบ RG-6

LNB


LNB คืออะไร

LNB (Low Noise Block down Converter)
คืออุปกรณ์ขยายสํญญาณรบกวนต่ำ เป็นภาคขยายสํญญาณความถี่วิทยุ (RF Amplifier) ที่มีLNA:Low Noise Amplifier อยู่ภายใน จะทำหน้าที่รับและขยายสัญญาณที่รับมาจากหน้าจานดาวเทียมและควบคุมระดับสัญญาณรบกวน Noise ให้มีค่าน้อยที่สุด จากนั้นจะทำการส่งผ่านภาคแปลงความถี่ให้ต่ำลง Down Converter เช่นแปลงความถี่ย่าน C-Band จาก3.7-4.2 GHzให้เหลือ 950-2050 MHz จึงจะสามารถส่งผ่านไปกับสายสํญญาณ RG6U ไปยังเครื่องรับได้

LNB มี 2 ประเภท

LNB C-Band

LNB KU-Band มี 2 แบบ

แบบยูนิเวอร์แซลความถี่ 9750-10600 MHz

แบบมาตรฐานความถี่ 11300 MHz

การเลือกใช้แบบไหนกับดาวดวงใดมีสูตรดังนี้

ใช้ความถี่ช่องที่ต้องการดูเช่นดาวเทียม Nss6 ku ช่อง ASTV ความถี่ 11635 - ความถี่LNB 10600 = 1035 MHz

หากใช้ความถี่ 11635 - ความถี่LNB แบบมาตรฐาน 11300 ก็จะได้ 11635-11300 =335 MHz

ค่าความถี่ที่จะได้ต้องอยู่ที่ตัวเลข 950 -2150 MHz เท่านั้น

หัวรับแบบยูนิเวอร์แซลมีขอดีอีกอย่างคือสามารถรับความถี่ย่านสูงได้แบบนี้ มีวงจร Local Oscillator อยู่ 2 ชุด เพื่อให้รับสัญญาณได้ทั้ง 2 ช่วงความถี่ โดย

มีวงจร โทนความถี่ 22 Kเป็นตัวควบคุม ซึ่งความถี่ 22 K นี้ จะส่งจากเครื่องรับดาวเทียม โดยผสมสัญญาณไปกับไฟเลี้ยง LNBหากมีสัญญาณความถี่ 22 K

สวิตซ์ ที่ควบคุมด้วยความถี่ จะสั่งงานให้ Local Oscillator ในย่าน high band ทำงาน หากไม่มีี่สัญญาณ 22 K ส่งไปที่ LNB สวิตซ์ ที่ควบคุมความถี่ จะ

สั่งงานให้ Local Oscillator ในย่าน low band ทำงานแทนเช่นกัน

ปัจจุบันมีโรงงานผลิตหัวรับแบบ C/KU ออกมาจำหน่ายและง่ายต่อการใช้งานกับจานC-Band รับได้2ระบบในดาวดวงเดียวกัน หรือใช้กับจานแบบหมุนหรือเรียกอย่างว่าจานมู


รูปภาพ LNB  1ขั้ว



 รูปภาพ LNB 2 ขั้ว
รูปภาพ LNB 2 ขั้วแยก 6 ขั้ว

ระบบ KU Band และ C Band

 ระบบ KU-Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 10-12 GHz สัญญาณที่ส่งครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย ใช้กับการส่งสัญญาณภายในประเทศ ส่วนใหญ่ใช้กับระบบการให้บริการ เคเบิ้ลทีวี ภายในประเทศ ความเข้มสัญญาณจะสูง จึงใช้จานขนาดเล็ก 35-75 ซม.


รูปภาพ KU-Band

ความถี่ 
       - จานแดง TRUE จะใช้หัว LNB ความถี่ 11300 
- จานสีเทา TRUE UBC จะใช้หัว LNB ความถี่ 11300 หรือ 10750
- จานสีดำ PSI OK จานเล็กทึบ จะใช้หัว LNB ความถี่ 10750
- จานสีเทา,น้ำเงิน SAMART จะใช้หัว LNB ความถี่เป็น 10750 และต้องเปิดสัญญาณ 22 K ด้วย            หรือ Universal
- จานสีส้ม IPM จะใช้หัว LNB ความถี่เป็น Universal และต้องหันจานไปรับดาวเทียมไทยคม 5
- จานสีเหลือง DTV จะใช้หัว LNB ความถี่เป็น 11300,10750, Universal  และ 10600
ความถี่ที่ใช้ในการ OTA และช่อง RS SPORT LA LIGA คือ 12313/H/30000 สำหรับ KU-band          และ 3880/V/30000 สำหรับ C-Band
หน้าจานหันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่ 240 องศา(มุมกวาด) มุมก้มเงย 60 องศา สาย              สัญญาณที่ต่อเข้ากับหัวLNB จะต้องหันออกมาทาง 4 นาฬิกา

ระบบ C - Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 3.4-4.2 GHz แบบนี้จะมีฟุตปริ้นกว้างสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้หลายประเทศ ซึ่งสัญญาณดาวเทียมที่รับได้ จากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบนี้ แต่เนื่องจากสัญญาณครอบคลุมพื้นที่กว้าง ความเข้มสัญญาณจะต่ำ จึงต้องใช้จานขนาด 4-10 ฟุต รับสัญญาณ ภาพจึงจะชัด (รายการส่วนใหญ่เป็นฟรีทีวีของแต่ละประเทศ และส่วนมากสามารถรับชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน )

รูปภาพ จานดาวเทียม C- Band

ความถี่ ระบบ C-Band ใช้ความถี่ LNB 5150

ระบบวงโคจรดาวเดียม

เส้นรอบของโลกคือ 40,075 กม.
รัศมี 6,371 กม.




รูปภาพ โลก

ดาวเทียมของประเทศไทย
- ดาวเทียมไทยคม,ดาวเทียม NSS6  ตำแหน่งวงโคจรจาก 78.5 องศาตะวันออก ไปที่ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันครอบคลุมครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน โดยมีความแรงของสัญญาณด้านขาลง (Down Link) ณ ประเทศไทย 36 เดซิเบลวัตต์ ส่วนพื้นที่การให้บริการในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 1 และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน โดยมีความแรงของสัญญาณด้านขาลง (Down Link) 50 เดซิเบลวัตต์ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมในวงโคจรมีค่าความเร็วประมาณ 27,359 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (17,000 ไมล์ต่อชั่วโมง) เราเรียกความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมโดยไม่ตกสู่พื้นโลก และไม่ล่องลอยออกไปในอวกาศ เรียกว่า ความเร็ววงโคจร (Orbital velocity) ความสูงจากพื้นโลกของดาวเทียมในอวกาศมีค่าประมาณ 242 กิโลเมตร (150 ไมล์)


รูปภาพ จานดาวเทียมไทยคม 7

วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ระบบไฟฟ้าสื่อสาร

การส่งสัญณาณแบบคลื่นไมโครเวฟ(Microwave)
สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) 
เป็นคลื่นความถี่วิทยุชนิดหนึ่งที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 0.3GHz – 300GHz ส่วนในการใช้งานนั้นส่วนมากนิยมใช้ความถี่ระหว่าง 1GHz – 60GHz เพราะเป็นย่านความถี่ที่สามารถผลิตขึ้นได้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูงในระดับกิกะเฮิรตซ์  (GHz) และเนื่องจากความของคลื่นมีหน่วยวัดเป็นไมโครเมตร จึงเรียกชื่อว่า “ไมโครเวฟ”  การส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และจะต้องมีสถานที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงในระดับสายตา (Line of sight transmission) ไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกที่มีความโค้งได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง  หากลักษณะภูมิประเทศ มีภูเขาหรือตึกสูงบดบังคลื่นแล้ว ก็จะทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังเป้าหมายได้ ดังนั้นแต่ละสถานีจึงจำเป็นตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดดอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนเนื่องจากแนวการเดินทางที่เป็นเส้นตรงของสัญญาณดังที่กล่าวมาแล้ว การส่งข้อมูลด้วยสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆ และทุรกันดาร

ลักษณะของคลื่นไมโครเวฟ
  การส่งคลื่นสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟ จะส่งคลื่นจากจานส่ง พุ่งตรงไปยังจานรับ โดยมีทิศทางในการส่งเป็นแนวระนาบที่เรียกว่า "เส้นสายตา" ที่เปรียบเทียบกับการมองของมนุษย์ ซึ่งจะมองเห็นเป้าหมายในลักษณะเส้นตรง ดังนั้นการติดตั้งจานรับสัญญาณจะต้องหันหน้าจานไปยังจานส่งสัญญาณเสมอ ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถรับสัญญาณใด ๆ ได้ และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางเส้นสายตานี้เด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้การสื่อสารไม่ชัดเจนได้ โดยปกติแล้วคลื่นไมโครเวฟจะส่งสัญญาณไปได้ไกล 25 - 30 ไมล์ แต่ถ้าต้องการส่งไปไกลกว่านั้น จะต้องตั้งจานทวนสัญญาณที่รับเข้ามา และส่งต่อไปยังจานรับต่อไป และถ้าติดแนวภูเขาหรืออาคารสูง ก็จะต้องตั้งจานทวนสัญญาณอีกเช่นกัน โดยการติดตั้งจานรับสัญญาณจะตั้งอยู่บนที่สูง ๆ เพื่อไม่ให้มีสิ่งใดมากีดขวางการส่งข้อมูล เช่นบนยอดตึก หรือบนภูเขา ความเร็วในกา รส่งข้อมูล 200-300 Mbps ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความสูงของเสาสัญญาณด้วย ก่อนที่ความเข้มของสัญญาณจะสูญหายไป เพื่อให้ส่งสัญญาณไปได้ระยะไกลๆ จึงจำเป็นต้องขยายสัญญาณทุกๆ 30- 50 กิโลเมตร

ส่วนประกอบของระบบการสื่อสารผ่านไมโครเวฟ
ระบบการสื่อสารผ่านคลื่นไมโครเวฟจะมี2 ส่วนหลัก คือ ส่วนประมวลผล และ ส่วนทำหน้าที่ส่งสัญาณ
1.ส่วนประมวลผล จะทำหน้าที่คำนวณในเรื่องการสื่อสารโดยจะสร้างและแปลสัญญาณสื่อสาร
2.ส่วนส่งสัญญาณ จะทำหน้าที่ส่งและรับสัญญาณ อยู่บนอาคาร เช่น จารส่งสัญญาณ โดยไมโครเวฟจะใช้จานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ฟุตไมโครเวฟนั้นจะส่งผ่านสัญญาณข้อมูลด้วยคลื่นวิทยุ ( Radio-Frequency : RF ) ซึ่งส่งผ่านระหว่างสองสถานีต้นทางและปลายทาง (แต่ละสถานีจะต้องมีทั้งส่วนประมวลผลและส่วนรับ/ส่งสัญญาณ)
หลักการทำงานคลื่นไมโครเวฟ
ระบบไมโครเวฟมีหลักการทำงานคล้ายกับระบบสื่อสารทั่วไป โดยจะรับข้อมูลจากอุปกรณ์อื่น แล้วส่วนประมวลผลจะทำการแปลงข้อมูลนั้นเป็น สัญญาณคลื่นวิทยุ และส่งไปที่ตัวรับ ระบบไมโครเวฟทั่วไปจะถูกกำหนดให้ใช้ความถี่คงที่ (โดยปกติจะใช้ความถี่ประมาณ 300MHz-100GHz ) ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร ( FC : the Federal Communication Commission ) ซึ่งก็เหมือนกับสถานีวิทยุ ที่ต้องขออนุญาตในการใช้คลื่นความถี่นั้นๆ ก่อน เพื่อจะได้ไม่ไปรบกวนสัญญาณอื่นๆ เช่น การสื่อสารกับเครื่องบิน และระบบไมโครเวฟอื่น เป็นต้น ในบรรดาคลื่นความถี่วิทยุที่ใช้กัน เริ่มจาก 300 กิโลเฮิร์ทซ์ขึ้นไป ถ้าจาก 30 เมกะเฮิร์ทซ์ ถึง 300 เมกะเฮิร์ทซ์ ก็เรียกว่า วีเฮชเอฟ ( VHF) จาก 300 เมกะเฮิร์ทซ์ ถึง 30 จิกะเฮิร์ทซ์ ก็เรียกว่า ยูเฮชเอฟ ( UHF)ระบบ VHF (Very High Frequency)ระบบ VHF เป็นระบบคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการวิทยุกระจายเสียง แพร่ภาพโทรทัศน์ การสื่อสารระยะใกล้ ด้วยความถี่ 30 - 300 MHz นับเป็นระบบแรกที่นำมาใช้ในประเทศไทย โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม สัญญาณที่ส่งเป็นสัญญาณ Analog ส่งสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดิน ( Terestrial Station) ไปได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร รับสัญญาณด้วยเสาอากาศทั่วๆ ไป จัดเป็นระบบเปิดสาธารณะ หรือเรียกว่า ฟรีทีวี ( Free TV) เช่น ช่อง 3, 5, 7, 9 และ 11ระบบ UHF (Ultra High Frequency)ระบบ UHF เป็นระบบที่พบได้กับช่อง ITV รวมทั้งการสื่อสารการบิน การสื่อสารระยะใกล้อื่นๆ ด้วยสัญญาณ Analog ในย่านความถี่ 300 MHz ถึง 3 GHz เนื่องจากสัญญาณมีย่านความถี่สูงมาก ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณได้ไกล จึงต้องมีสถานีเครือข่าย การรับสัญญาณสามารถใช้เสาอากาศทั่วไปได้เช่นกัน

ข่ายงานเสียง ( Voice Networking )
จะใช้ในการเชื่อมต่อตู้สาขา ( Private Branch Exchange - PBX ) ระหว่างตึก ซึ่งการใช้สายเป็นเรื่องยุ่งยากและไม่คุ้มค่า

ข่ายงานข้อมูล ( Data Networking )
จะใช้เพื่อเชื่อมต่อส่วนประมวลผลที่อยู่ต่างสถานที่เข้าไว้ด้วยกัน

ข่ายงานสื่อสารส่วนบุคคล ( Personal Communications Networking )
ระบบไมโครเวฟถูกใช้ในระบบเซลลูล่าร์ด้วยเพื่อช่วยเรื่องความสามารถในการ ติดต่อสื่อสาร โดยจะไม่ถูกจำกัดด้วยสิ่งกีดขวางระหว่างทาง


การสื่อสารสำรอง
( Backup Communications )
จะใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลที่มีมากขึ้นทุกวัน โดยจะถ่ายข้อมูลระหว่างสิงจุด โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ข้อมูลในธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่างๆ

ข้อดีและข้อเสียของไมโครเวฟ

ข้อได้เปรียบของไมโครเวฟ
ในหลายๆ สถานการณ์ไมโครเวฟทำได้เหมือนกับการส่งข้อมูลอย่างอุคติไม่ว่าจะเรื่องเสียง หรือข้อมูล ปัจจัยที่ใช้ตัดสินใจประเมิลผลระหว่างไมโครเวฟกับสายทองแดงนั้นคือ ราคาของระบบ, สายหาได้สะดวกหรือไม่ และความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้
สามารถติดต่อได้สะดวกกว่าการใช้สายซึ่งจะเหมาะกับการใช้ในเมืองใหญ่ที่ไม่สามารถใช้ระบบไร้สายได้
สามารถติดตั้งได้ทุกที่โดยไม่ต้องมีการใช้สาย
ระบบไมโครเวฟสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว( 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น)และต้องการเพียงแค่ให้สถานีส่ง-รับเห็นกันได้อย่างสะดวก (LOS)
ข้อเสียเปรียบของไมโครเวฟ
1. ค่าใช่จ่ายค่อนข้างมาก
2. ขนาดของระบบทั้งส่วนประมวลผลและส่วนส่งสัญญาณมีขนาดค่อนข้างใหญ่
3. มีความไวต่อสิ่งรอบข้างไมโครเวฟนั้นจะมีความรู้สึกไวต่อสิ่งรอบข้าง ทำให้อาจส่งผลเมื่อสภาพแวดล้อมแตกต่างกันออกไป
4. จำเป็นต้อตั้งให้เห็นกันทั้งสองฝ่ายส่งและฝ่ายรับ ( LOS )เมื่อนึกถึงการใช้เครือข่ายของไมโครเวฟจะต้องเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดแต่อย่างไรก็ดีไมโครเวฟอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดก็ได้

VB6

งานที่ 1 บวกลบ


งานที่ 2 นับถอยหลัง


งานที่ 3 จับเวลา


งานที่ 4 การนับจำนวน


งานที่ 5 เปิด-ปิดหลอดไฟ


งานที่ 6 เปลี่ยนรูปภาพ


งานที่ 7 เปิด-ปิดหลอดไฟอัตโนมัติ


งานที่ 8 ระบบลิฟต์

การต่อสาย UTP

                เดี๋ยวนี้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ใครมีลูกหลานก็คงจะเห็นชัดว่าเขาเหล่านั้นมักจะมีความสนใจในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งที่การเริ่มต้นอาจจะมาจากการเล่นเกมส์ก็ตาม เมื่อเขามีความสนใจก็คงต้องส่งเสริมกันล่ะครับต่อมาวิวัฒนาการมากขึ้น การเชื่อมต่อกับโลกภายนอกก็ตามมาถึงในบ้าน ครั้นจะซื้อทุกอย่าง พ่อแม่ก็คงเห็นว่าไม่ค่อยจะมีพัฒนาการในการแก้ไขปัญหา ก็เลยมาถามว่าทำไงให้เด็ก ๆ เหล่านั้นมีความสนใจเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง คำตอบจากพ่อแม่เด็กครับ "ไม่รู้เหมือนกัน" ...วันนี้ก็เลยเอาเรื่องสายเน็ตเวิร์ก หรืออาจจะได้ยินคนเรียกว่าสาย UTP (Unshielded Twisted Pair) มาเล่าสู่กันฟังครับปัจจุบันสายเน็ตเวอร์กที่นิยมใช้เดินในอาคาร ก็คือสาย UTP หรืออาจจะเรียกว่า 10BaseT หรืออาจได้ยินว่าสาย CAT5 ซึ่งสาย CAT5 จะสามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้ถึง 100 เมกกะบิตต่อวินาที (100 megabit per second)สาย CAT5 จะเป็นสายที่มีตีเกลียวกัน 4 คู่ (รวมแล้วมีทั้งหมด 8 เส้น) เราถึงได้เรียกว่า Unshielded Twisted Pair (UTP)รหัสสีของสาย CAT5 ทั้ง 4 คู่ จะใช้ตามค่ามาตรฐานของ Electronic Industry Association/Telecommunications Industry Association's Standard 568B ดังตาราง


สายคู่ที่ 1ขาว/น้ำเงิน
น้ำเงิน
สายคู่ที่ 2บาว/ส้ม
ส้ม
สายคู่ที่ 3ขาว/เขียว
เขียว
สายคู่ที่ 4 ขาว/น้ำตาล
น้ำตาล

หัวต่อ (Connectors)หัวต่อสาย CAT5 UTP เราจะเรียกกันติดปากว่า หัว RJ45 (RJ ย่อมาจาก Registered Jack)ในมาตรฐานของ IEEE กำหนดให้ Ethernet 10BaseT ต้องมีสายตีเกลียวเป็นคู่ ๆ และคู่ที่หนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับขา 1 และ 2 , และ คู่ที่สองจะต่อเข้ากับขา 3 และ 6 ส่วนขา 4 และ 5 จะข้ามไม่ใช้งานการเชื่อมต่อสายตามมาตรฐาน EIA/TIA-568B RJ-45 :ในการใช้งานจะใช้แค่ 2 คู่ในการรับส่งข้อมูลตามมาตรฐาน 10BaseT โดยใช้คู่ที่ 2 (ขาว/สัม , ส้ม) และคู่ที่ 3 (ขาว/เขียว,เขียว)

คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา 1 และ2ดังนี้:
ขา 1 ใช้สีขาว/ส้ม
ขา2 ใช้สีส้ม
คู่ที่3ต่อเข้ากับขา3 และ6ดังนี้:
ขา3 ใช้สีขาว/ส้ม
ขา6 ใช้สีส้ม

ส่วนสองคู่ที่เหลือให้ต่อดังนี้ครับ

คู่ที่ 1
ขา4 ใช้สีน้ำเงิน
ขา5 ใช้สีขาว/น้ำเงิน
คู่ที่ 4
ขา7 ใช้สีขาว/น้ำตาล
ขา8 ใช้สีน้ำตาล


การเรียงสีให้ดูตามรูปก็ได้ครับ

เมื่อจัดสีให้ตรงตามแบบแล้วก็ทำการตัดให้ปลายเท่ากันแล้วใส่สายเข้าไปในหัว RJ45



โดยให้ปลายของสายแต่ละเส้นไปชนกับด้านบนสุดของหัว RJ45 เมื่อชนสุดแล้วใช้คีมสำหรับเข้าหัว RJ45 บีบให้แน่น จากนั้นให้ทำเหมือนกันทั้งสองด้าน



สายไข้ว (Crossover Cables)
ในการเข้าสายแบบพิเศษ หรือที่เรียกกันว่า สายไขว้ (Crossover Cable) จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งของปลายสายด้านหนึ่งของสายเคเบิล ซึ่งจะสลับกันจาก ขา 1&2 ไปเป็นขา 3&6 และจากขา 3&6 ไปเป็นขา 1&2 ส่วนขา 4&5 และ 7&8 ไม่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้เข้าใจจะมีการต่อสายทั้งสองด้านดังนี้ครับ:


ปลายด้านปกติ (Standard)ปลายด้านไขว้ (Crossover)
ขา 1 ขาว/ส้ม ขา 1 ขาว/เขียว
ขา 2 ส้มขา 2 เขียว
ขา 3 ขาว/เขียวขา 3 ขาว/ส้ม
ขา 4 น้ำเงิน ขา 4 น้ำเงิน
ขา 5 ขาว/น้ำเงิน ขา 5 ขาว/น้ำเงิน
ขา 6 เขียวขา 6 ส้ม
ขา 7 ขาว/น้ำตาลขา 7 ขาว/น้ำตาล
ขา 8 น้ำตาล ขา 8 น้ำตาล

ข้อมูลในตารางจะใช้สำหรับปลายด้านที่เป็นสายไขว้ (Crossover End)


คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา 1 และ2ดังนี้:
ขา1 ใช้สีขาว/เขียว
ขา2 ใช้สีเขียว
คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา3 และ6ดังนี้:
ขา3 ใช้สีขาว/ส้ม
ขา6 ใช้สีส้ม


ภาพที่แสดงจะเป็นการเรียงสีของสายที่จะทำเป็นปลายสายไขว้

เมื่อสอดปลายของสายแต่ละเส้นไปชนกับด้านบนสุดของหัว RJ45 จากนั้นก็ใช้คีมสำหรับเข้าหัว RJ45 บีบให้แน่น



x

WordPress

 “ WordPress คืออะไร ”

WordPress สร้างขึ้นในปี 2003 จากนักพัฒนา 2 คน คือ Matt Mullenweg และ Mike Little WordPress นี้เป็น open source web software ที่สามารถติดตั้งบนเว็บ server เพื่อสร้างเว็บไซต์ blog หรือ community โดยมีระบบจัดการบทความ หรือ Content Management System (CMS) นับเป็นเว็ปไซต์สำเร็จรูปที่ง่ายต่อการใช้งาน

รูปแบบของ WordPress แบ่งได้ 2 แบบด้วยกัน คือ WordPress.org และ WordPress.com สองตัวนี้มีความแตกต่างกันดังนี้
1. WordPress.org คือ เว็บไซต์ฟรีสำหรับ Download โปรแกรม WordPress เป็นโปรแกรมที่รวมนักพัฒนาไว้อย่างมากมาย
2. WordPress.com คือ เว็บไซต์เชิงพาณิชย์ เป็น Host ฟรีที่ติดตั้ง WordPress มาให้เรียบร้อยแล้วแต่มีข้อจำกัดบางในการใช้งานและจำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมบางส่วนเพื่อลบข้อจำกัด

ข้อดีและข้อเสียของ WordPress.org

ผู้ใช้งานต้องเสียเงินค่าเช่า Host เอง (ค่าใช้จ่ายตกปีละประมาณ 1200 – 12000 บาท ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ)
• ผู้ใช้ต้องเสียค่าจด Domain Name เป็นของตัวเอง (ค่าใช้จ่ายตกปีละประมาณ 350 – 600 บาท ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ)
• ต้องเสียเวลาติดตั้งโปรแกรม WordPress เอง ยกเว้นเช่า Host เพราะ Host จะเป็นผู้ติดตั้งให้ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ทันที)
• ต้องติดตั้ง Plugin ด้วยตนเองเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากนักเพียงแค่ต้องรู้ว่า Plugin ตัวไหนควรใช้
• สามารถใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ได้ฟรีไม่ต้องเสียเงิน
• พื้นที่การใช้งานไม่จำกัด (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ Host ที่เราเช่าไว้)
• สามารถเลือกTheme รูปแบบเว็บได้อย่างไม่จำกัด
• แต่ถ้าหากต้องการ Theme รูปแบบเว็บ ในระดับ Premium ต้องเสียเงินซื้อ (ค่าใช้จ่ายประมาณ 1500 – 2000 บาท)
• ไม่มีป้ายโฆษณาของ WordPress (ไม่มี Ads รบกวน)
• สามารถใช้ FTP โอนข้อมูลไฟล์ได้ตามใจชอบ
• สามารถติดAds ได้อย่างอิสระ
• สามารถเพิ่มเข้า Google Analytics เพื่อติดตามสถิติเว็บได้
ข้อดีและข้อเสียของ WordPress.com

Free Host ไม่เสียเงินค่าเช่า Host
• Domain Name จะเป็น ชื่อเว็บ.wordpress.com
• ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม สมัครแล้วสามารถเข้าใช้งานได้เลย
ไม่ต้องเสียเวลาติดตั้ง Plugin ดวยตนเองเพราะมี Plugin ที่จำเป็นติดตั้งไว้ให้เรียบร้อยแล้ว
• ไม่สามารถเพิ่ม Plugins เองได้ ถ้าต้องการเพิ่มเติมต้องเสียเงินถึงจะลงเพิ่มได้
• ฟังก์ชั่นถูกจำกัดหลายอย่าง ถ้าต้องการใช้งานต้องเสียเงินเพื่ออัพเกรดจึงจะสามารถใช้งานได้
• พื้นที่ใช้งานมีจำกัด หากต้องการเนื้อที่เพิ่มต้องเสียเงิน
• Theme รูปแบบเว็บ มีให้ใช้อย่างจำกัด ไม่สามารถลง Theme เพิ่มเองได้ หากต้องการใช้งานต้องเสียเงินเพิ่ม
• มีป้ายโฆษณา (Ads) ขึ้นรบกวน หากต้องการเอาออกต้องเสียเงินเพิ่ม
• ไม่สามารถใช้ FTP โอนข้อมูลไฟล์ได้
• ไม่สามารถทำการติด Google AdSense ได้
• ไม่สามารถเพิ่มเข้า Google Analytics เพื่อติดตามสถิติเว็บได้

Appserv

 Appserv เป็นโปรแกรมประเภท OpenSource หรือโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้และพัฒนาต่อยอดได้ด้วย Appserv เป็นโปรแกรมประเภทจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นเครื่อง Server ที่มีการใช้งาน Apache  MySQL  PHP  phpMyAdmin  สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับ Apache  MySQL  PHP  phpMyAdmin  ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในบทเรียนหัวข้อ  มาเรียน Linux กันเถอะ
      Appserv มีประโยชน์อย่างมากในการจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งจะเป็น PC  Notebook ก็ได้ ให้เป็น Server เพื่อใช้ทดสอบการสร้างเว็บไซต์  ทดสอบการเขียนโปรแกรม PHP   ทดสอบการใช้งาน CMS  ทดสอบการใช้งาน LMS   หรือการดำเนินงานอื่นๆที่ต้องใช้  Apache  MySQL  PHP  phpMyAdmin
      โปรแกรมประเภทเดียวกับ Appserv มีหลายโปรแกรมให้เลือกใช้งานเช่น XAMPP  WAMP ซึ่งแต่ละโปรแกรมมีเป้าหมายในการใช้งานเหมือนกันคือจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น Server แต่ต่างที่การใช้งานเท่านั้นเอง
      Appserv  พัฒนาโดยคนไทย คือ คุณภาณุพงศ์ ปัญญาดี และมีการเปิดให้ดาวน์โหลดและใช้งานในราว ปี 200

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การเชื่อมต่อ ISP

ประเภทการให้บริการของ ISP มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
1. Narrow band เป็นการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งจะมีความเร็วประมาณ 56 Kbps การเชื่อมต่อกับ ISP ประเภทนี้จะต้องดูว่า โมเด็มที่ใช้งานสามารถเชื่อมต่อหรือเป็นประเภทเดียวกับ ISP ด้วยหรือไม่เพราะ ISP แต่ละรายการจะมีหมายเลขโทรศัพท์หลายหมายเลขด้วยกัน ซึ่งแต่ละหมายเลขจะใช้สำหรับโมเด็มที่มีความเร็วและมาตรฐานที่แตกต่างกัน
2. Broadband ซึ่งเป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในปัจจุบันซึ่งการเชื่อมต่อกับ ISP จะเป็นการเชื่อมต่อโดยตรง ทำให้มีความเร็วในการใช้งานที่สูงขึ้น โดยผู้ให้บริการได้กำหนดมาตรฐานความเร็วในการใช้งานไว้ที่ ความเร็ว 500Kbps ไปจนถึง 2.5 Mbps ซึ่งโมเด็มที่ใช้จะเป็น ADSL MODEM ซึ่งโมเด็มประเภทนี้สามารถทำความเร็วในการส่งข้อมูลสูงถึง 6 Mbps และดาว์โหลดจะมีความเร็วในการดาว์โหลดที่สูงกว่า 6 Mbps



การเชื่อมต่อกับ ISP มีอยู่ด้วยกันหลายแบบคือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในยุคแรก ซึ่งจะเชื่อมต่อผ่านสายโทนศัพท์ ระหว่างการเชื่อมต่อจะได้ยินเสียงสัญญาณในการต่อทุกครั้ง โดยการใช้งานการเชื่อมต่อแบบนี้จะไม่ค่อยมีความเสถียร และมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 56 kbps
2. การเชื่อมต่อแบบ ISDN (Internet Services Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อที่ดีกว่าแบบ Dial Up แต่ก็ยังเป็นการเชื่อมต่อด้วยสายโทรศัพท์อยู่ แต่ความเร็วในการใช้งานจะมากกว่าพร้อมกันนั้นยังสามารถจะคุยโทรศัพท์ระหว่างการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย
3. การเชื่อมต่อแบบ DSL (Digital Subscriber Line) เป็นการเชื่อมต่อที่เรียกได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าการเชื่อมต่อ Dial Up และ ISDN มาก แต่ความเร็วที่ได้มาจะไม่แน่นอนซึ่งเป็นข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบนี้
4. การเชื่อมต่อแบบ Cable TV เป็นการเชื่อมต่อที่ผ่านสายเคเบิลทีวีด้วยการส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตและสัญญาณภาพและเสียงมาพร้อมกัน การใช้งานอินเตอร์เน็ตจะสามารถใช้พร้อมกับการดูเคเบิลทีวีได้เลยแต่ข้อเสียก็คือถ้ามีผู้ใช้งานในเวลาเดียวกันมาก ๆอาจจะทำให้ความเร็วในการใช้อินเตอร์เน็ตต่ำลงไปด้วย
5. การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) การเชื่อมต่อแบบนี้จะไม่นิยมใช้งานกันเพราะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากและความเร็วในการใช้งานก็ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วยเช่นกัน


สรุปแล้ว ISP หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตนั้นมีความสำคัญต่อการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่างมาก เพราะเป็นเหมือนกับประตูในการให้ข้อมูลที่เราร้องขอจากภายนอกเข้ามาแสดงยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่หรือข้อมูลที่เราส่งออกไปสามารถผ่านออกไปสู่โลกภายนอกได้ ในอนาคตเชื่อได้ว่าถ้ามีการแข่งขันระหว่าง ISP จำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ถูกลงและมีเทคโนโลยีที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน

Protocal TCP/IP

TCP/IP คืออะไร
      การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol
TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ



TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน คือ
 1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
 2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address

IP Addrea

                 ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปบนโลกนี้มีมากมาย และทุกเครื่องก็สามารถที่จะเชื่อมต่อถึงกันด้วย และถ้าระบบเครือข่ายไม่มี IP Address แล้วละก็ เราจะไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าข้อมูลนี้ส่งมาจากเครื่องไหน และเล่นอยู่ที่ไหน ซึ่งในหลักความเป็นจริงแล้ว ถ้าIP Address ซ้ำกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นก็จะมีปัญหา เปรียบได้กับเลขที่บ้านซ้ำกัน เมื่อไปรณีย์จ่ายจดหมายก็จะไม่สามารถจ่ายได้ถูกบ้าน ซึ่งนี่เองเป็นเหตุผลที่จะต้องมี IP Address ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                  
IP Address คืออะไร
IP Address คือหมายเลขที่สามารถระบุแยกแยะความแตกต่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมต่อในเครือข่ายเดียวกัน หรือจะเป็นการเชื่อมต่อนอกเครือข่ายก็ได้เช่นกัน อย่างที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า IP Address เปรียบได้ดังเลขที่บ้านในการตั้ง IP Address จะตั้งไม่ให้ซ้ำกันอย่างเด็ดขาด เพราะถ้าซ้ำกันจะทำให้เกิดความสับสนในการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่าย ซึ่งนี่เองเลยมีหน่วยงานที่ออกมากำหนดเรื่องของการตั้งค่า IP Address ขึ้นมา
IP Address มีประโยชน์ในระบบ Network อย่างมาก ก็อย่างที่เกริ่นไปแล้วในตอนแรกแล้วว่า IP Address มีความสำคัญมากสำคัญระบบเครือข่าย เพราะว่าเลข IP Address เป็นเลขเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีเลข IP Address ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อไม่ให้เกิดความความสับสนในการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่าย และยังช่วยให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายสามารถออกแบบสร้างและควบคุมการทำงานของเครือข่ายได้อย่างง่ายได้และไม่สับสน


โครงสร้าง IP Addres
หน่วยงานนี้คือ องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรร IP Address ทั่วโลก และให้หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค (RIR) ทำหน้าที่จัดสรรกลุ่มเลขที่อยู่ IP Address สำหรับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและหน่วยงานอื่น ๆที่เกี่ยวข้องอีกทีหนึ่ง
โดยที่เลข IP Address ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ IPv4 และ IPv6 ซึ่ง IP Address IPv4 นี้ถือกำเนิดมาก่อนเป็นแบบ ตัวเลข 32 บิต ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีใช้งานอยู่แต่เนื่องจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันในเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ต้องมีการคิดค้นเลข IP Address ขึ้นมารองรับ นั้นก็คือ IPv6 ใช้ตัวเลข 128 บิต พัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1995 และได้ทำให้เป็นมาตรฐานใน อาร์เอฟซี 2460 เมื่อ ค.ศ. 1998

ตัวอย่าง IP Addres

ประโยชน์ของ IP Addres

IP Address เป็นสิ่งที่ทุกคนควรที่จะรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ IP Address ให้มากยิ่งขึ้นหลักใหญ่ใจความในการตั้งเลข IP Address และเป็นหลักที่สำคัญไม่ว่าระบบ Network นั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ก็คือต้องไม่ตั้งเลข IP Address ให้ซ้ำกันอย่างเด็ดขาดเลยทีเดียว


การแบ่ง Class ของเครือข่าย IP Address
การติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องมี IP Address สำหรับการส่งข้อมูลเพื่อติดต่อถึงกัน โดยตามปกติแล้ว IP Address จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่บ่งบอกว่าเป็นหมายเลขเครือข่าย และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่าของ IP Address จะมีการกำหนดค่าของ IP Address เป็นไบต์ (Byte) และกำหนดค่าด้วยเลขฐานสิบ ตัวอย่างเช่น IP Address 202.28.8.1 เป็นต้น

โดยการทำงานภายใน IP Address ยังมีการแบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ต่าง ๆ 5 Class คือ Class A, B, C, D และ E ซึ่งในแต่ละ Class จะมี หมายเลข IP จะมีทั้งหมด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ฟิลด์ โดยแต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต ซึ่งการแบ่งเป็น 4ฟิลด์นั้น ความจริงเป็นการกำหนดหมายเลขของเครื่องเครือข่าย และหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ รายละเอียดของแต่ละ Class มีดังนี้

Class A: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.0-127.255.255.255 ซึ่งเหมาะสมสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถรองรับจะมีเครือข่ายได้ 126 เน็ตเวิร์ค และในแต่ละเครือข่ายสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ประมาณ 16 ล้านเครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class A เป็น 120.25.2.3 หมายถึง เครือข่าย 120 หมายเลขเครื่อง 25.2.3

Class B: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.0-191.255.255.255 จะมีเครือข่ายขนาด 16384 เน็ตเวิร์ค และจำนวนเครื่องลูกข่ายในเครือข่ายได้ 64,516 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class B เป็น 145.147.45.2 หมายถึง เครือข่าย 145.147 หมายเลขเครื่อง 45.2

Class C: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 192.0.0.0-223.255.255.255 จะมีจำนวนเครือข่ายขนาด 2M+ เน็ตเวิร์ค และเครื่องลูกข่ายในแต่ละเครือข่ายได้ประมาณ 254 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class C เป็น 202.28.10.5 หมายถึง หมายเลขเครือข่าย 202.28.10 หมายเลขเครื่อง 5

Class D:เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 224.0.0.0-239.255.255.255 สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ซึ่งจะไม่มีการแจกจ่ายใช้งานทั่วไปสำหรับบุคคลทั่วไป


Class E: เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 240.0.0.0-255.255.255.255 สำหรับการทดสอบ และพัฒนา

x