วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ระบบเสียงในอาคาร ห้างสรรพสินค้า

             ระบบเสียงตามสาย คือการส่งสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต้นทาง อาจจะเป็นไมโครโฟน หรือ เครื่องเล่นเสียง CD/VCD/DVDMP3 หรือจากเครื่องรับวิทยุ หรือแหล่งอื่นๆ แล้วส่งไปที่เครื่องขยายเสียงเพื่อ ทำการขยายให้ได้กำลังสูงๆ เพื่อจะได้ส่งไปตามสายในระยะทางที่ไกลๆ โดย ที่ปลายทางจะมีลำโพงต่ออยู่ ระบบเสียงตามสาย อาจถูกเรียกได้หลายแบบเช่น ระบบเสียงตามสาย เสียงตามสาย ระบบประกาศ ระบบกระจายเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีความหมายในทางเดียวกัน อาจจะมีวัตถุประสงค์และรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันบ้าง แต่พื้นฐานหลักการจะมีองค์ประกอบเหมือนที่ กล่าวมาในตอนต้น การใช้งานระบบเสียงตามสายนิยมใช้ในระยะที่ไม่ไกลมาก โดยปกติจะใช้ภายในอาคาร ระหว่าง อาคาร หรือในพื้นที่หน่วยงาน โดยเฉลี่ยจะไม่เกิน 2 กิโลเมตรเนื่องจาก ยิ่งระยะทางไกลจะทำให้เกิดความ ต้านทานในสาย และทำให้สัญญาณเสียงลดคุณภาหรือดังค่อยลง อาคารเกือบทุกประเภทมีความจำเป็นต้องมีระบบเสียงตามสายเพื่อกระจายเสียงสำหรับประกาศเรียก หรือกระจายเสียงภายในอาคารเพื่อสื่อสารกับผู้ใช้อาคาร มีอุปกรณ์หลายชนิดรวมอยู่ในแผงกระจายเสียง (Sound Distribution Frame) ในลักษณะของแร็ก (Rack) โดยอาจประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ 3.1 เครื่องเสียง แหล่งกำเนิดสัญญาณ (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-1) เป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณ อาจประกอบด้วยเครื่องรับวิทยุ AM/FM เครื่องเล่น CD DVD เครื่องเล่นเทป (ปัจจุบันไม่นิยมใช้) แบบแยกชิ้น หรือแบบรวมอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียว (Integrated) ใช้เป็นเสียงเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในอาคาร




รูปที่ 1 เครื่องเสียง แหล่งกำเนิดสัญญาณ 

       อุปกรณ์ประกาศเรียก (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-4) อุปกรณ์ประกาศเรียก เป็นไมโครโฟนสำหรับโอเปอร์เรเตอร์ใช้ในการประกาศ หรือส่งข่าวสาร ซึ่งมีทั้งชนิดที่มีเสียงกริ่งอิเล็กโทรนิกส์ หรือมีสวิตซ์เลือกโซนประกาศรวมอยู่ด้วย





รูปที่ 2 อุปกรณ์ประกาศเรียก

      มิกซ์เซอร์  (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-6) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณจากแหล่งกำเนิดเสียงหลายแหล่ง เช่น เครื่องเสียงแบบแยกชิ้น อุปกรณ์ประกาศเรียกเข้าด้วยกันโดยสามารถปรับระดับสัญญาณของแต่ละช่องได้อย่างอิสระ 





รูปที่ 3 มิกซ์เซอร์




        เครื่องขยายเสียง (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-3) เป็นอุปกรณ์ขยายสัญญาณจากมิกซ์เซอร์ เพื่อส่งเข้าระบบกระจายเสียงโดยตรง หรือผ่าน อุปกรณ์เลือกโซน โดยเอาต์พุตของเครื่องขายเสียงจะเป็นลักษณะของแรงดัน (Line Voltage) เนื่องจากโหลด ของเครื่องขยายเสียงในระบบประกอบด้วยลำโพงเป็นจำนวนมาก ซึ่งจำนวนลำโพงที่ต่ออยู่กับระบบ อาจเพิ่ม หรือลดได้โดยการใช้อุปกรณ์เลือกโซน การจ่ายเอาต์พุตเป็นแรงดันจึงมีความเหมาะสมกับโหลดลักษณะนี้




รูปที่ 4 เครื่องขยายเสียง


        อุปกรณ์เลือกโซน (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-6) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลือกบริเวณหรือโซนที่ต้องการกระจายเสียง เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวน บริเวณอื่นๆ การเลือกโซนกระจายเสียงสามารถเลือกได้ตั้งแต่หนึ่งโซนหรือทุกโซน โดยรูปแบบ (Pattern) ของ โซนต่างๆนั้นถูกกำหนดไว้ในขั้นตอนออกแบบ




รูปที่ 5 อุปกรณ์เลือกโซน

        โวลลุ่มคอนโทรล (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-17) โวลลุ่มคอนโทรล เป็นอุปกรณ์ปรับระดับความดังของเสียง ติดตั้งอยู่ในบริเวณต่างๆ ที่ ต้องการกระจายเสียง เพื่อปรับความดังของลำโพงในบริเวณนั้นๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม




รูปที่ 6 โวลลุ่มคอนโทรล

        สายสัญญาณ (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : มอก.11 มอก.1100) ที่ใช้ในระบบเสียงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือภายในแผงกระจายเสียง อาจใช้เป็นสายเคเบิลแกนร่วม เชื่อมต่ออินพุตกับเอาต์พุตของอุปกรณ์ สำหรับในระบบกระจายเสียงอาจใช้เป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนแบบสาย อ่อน (VCT) หรือสายทองแดงหุ้มฉนวน (THW)



รูปที่ 7 สายอ่อน (VCT)



รูปที่ 8 สายทองแดงหุ้มฉนวน (THW)



  ลำโพง (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-5) ลำโพงในระบบเสียงมีความแตกต่างจากลำโพงของเครื่องเสียงบ้าน โดยลำโพงของระบบเสียง จะมี Matching Transformer ติดตั้งมาด้วยเพื่อแปลงเอาต์พุตของเครื่องขยายเสียงให้เหมาะสมกับอิมพีแดนซ์ ของลำโพง ชนิดของลำโพงแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามลักษณะการติดตั้ง เช่น ลำโพงแบบฝังฝ้าเพดาน (Recess Ceiling Speaker) และลำโพงฮอร์น (Horn Speaker) เป็นต้น



ระบบเสียงสาธารณะ

ระบบเสียงสาธารณะ
ระบบเสียงประกาศ หรือ ระบบกระจายเสียง ที่นิยมเรียกกันว่า PA System หรือ เครื่องเสียงกลางแจ้ง (ย่อมาจาก Public Address System) นั้นสำคัญอย่างไร หลายๆท่านคงรู้จักและคุ้นเคยกับระบบเสียงประกาศกันอยู่บ้าง เพราะเป็นสิ่งที่ถือได้ว่าอยู่ใกล้ตัวเรา เพราะไม่ว่าเราไปเดินที่ไหนในห้าง โรงพยาบาล โรงแรมหรือแม้แต่สถานที่สาธารณะต่างๆ เรามันจะได้ยินเสียงประกาศส่งข้อความต่างๆผ่านระบบเสียงให้เราได้ยินกัน ถามว่าไม่มีได้หรือไม่? ตอบได้เลยว่าจะมีหรือไม่มีก็ได้แต่ด้วยเหตุผลและปัจจัยต่างๆมากมายที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าเราควรจะต้องติดตั้งระบบเสียงประกาศหรือไม่

อันดับแรกเลยคือ ขนาดของพื้นที่ มีผลต่อการรับรู้ข่าวสาร ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดเล็กเช่นห้องทำงานภายในออฟฟิตเล็กๆที่มีห้องแค่ไม่กี่ห้องและจำนวนชั้นที่ไม่มาก เราก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบเสียงประกาศก็ได้เพราะตะโกนเอาก็ได้ยิน แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีโซนของพื้นที่แยกเป็นสัดส่วนแบบนี้ต้องมีระบบเสียงประกาศแน่นอนเพราะเราไม่สามารถสื่อสารได้ได้ทั่วถึง เราเลยต้องมีตัวช่วยกระจายเสียงไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข่าวสารหรือการเตือนภัย

อีกทั้งเรายังสามารถแบ่งออกเป็นโซนในการประกาศเพื่อไม่ให้เสียงไปรบกวนพื้นที่อื่นได้อีก ส่วนเราจะออกแบบการทำงานแบบไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราว่าอยากให้ระบบออกมาเป็นยังไง ประกาศข่าวสารอย่างเดียวหรือมีเพลงเปิดคลอบรรยากาศในระหว่างที่จะประกาศข้อมูลข่าวสารก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้มันจะเป็นข้อบ่งบอกถึงชนิดและจำนวนของอุปกรณ์ที่เราจะใช้ในงานนั้นๆ

อุปกรณ์พื้นฐานของระบบเสียงประกาศ

1. ไมค์โครโฟน (Microphone)

ในระบบเสียงประกาศมีไมค์โครโฟนหลักๆอยู่ 2 แบบ คือแบบธรรมดาทั่วไปจะใช้ไมค์โครโฟนแบบตั้งโต๊ะหรือไมค์ธรรมดาทั่วไปก็ได้ และอีกแบบหนึ่งคือไมค์โครโฟนแบบที่สามารถเลือกพื้นที่สำหรับประกาศได้ เพื่อต้องการประกาศเฉพาะบางพื้นที่ทำให้ไม่ไปรบกวนพื้นที่อื่น เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานถ้าเราต้องการประกาศรวมทั้งหมดก็ไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้ไมค์โครโฟนแบบเลือกโซนได้

ไมโครโฟนที่ใช้ในระบบเสียง PA
  ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์หลักอีกอย่างที่จะต้องนำมาใช้ในระบบเสียงแบบ PA ซึ่งมีใช้กันหลายแบบแต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ที่สำคัญต้องมีอิมพีแดนซ์ต่ำ มีทิศทางในการับเสียงได้ดีและสายที่ใช้ควรเป็นสายแบบบาลานซ์ไลน์ การนำไมโครโฟนมาใช้ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ เรื่องของอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนกับอินพุตของเครื่องขยายเสียงควรให้มีอิมพีแดนซ์เท่ากัน แต่ในการใช้งานจริงนั้นไม่จำเป็นต้องตามหลักการเพราะถ้าอิมพีแดนซ์มีค่าเท่ากันแล้ว ความไวของไมโครโฟนจะลดลงประมาณ 6 dB โดยสูญเสียไปในรูปของอัตราสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน ดังนั้นถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด อิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียงควรจะมากกว่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนประมาณ 10 เท่าหรือมากกว่าคุณลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างของไมโครโฟนที่ใช้ในระบบเสียง PA นี้ก็คือความไวการรับเสียงดีในทิศทางที่ต้องการเท่านั้นการเลือกใช้ไมโครโฟนที่มีทิศทางการรับเสียงที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อมหรือเสียงหอนลงได้ 

ไมโครโฟนที่มีคุณสมบัติข้างต้นที่นิยมใช้กันมากในระบบเสียงได้ดีในทิศทางตรงหน้าไมโครโฟนเท่านั้น มักเรียกว่า แบบคาร์ดิออยด์ ซึ่งการตอบสนองต่อเสียงของมันจะตอบสนองได้ดีกับเสียงของผู้พูดเท่านั้น แต่เสียงปรบมือหรือเสียงกรีดร้องจากผู้ชมจะไม่ค่อยมีผลนื่องจากคุณสมบัติที่รับเสียงได้ดี เฉพาะในทิศทางที่เป็นมุมแคบตรงด้านหน้าของมันเท่านั้น สายชีลด์ที่ใช้กับไมโครโฟนนั้นมีผลต่อคุณภาพเสียงเหมือนกันเพราะถ้ามีสายขนาดยาวมาก จะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนขึ้นไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำก็สามารถช่วยได้แต่ไม่มากนัก ซึ่งปกติแล้วสายชีลด์ธรรมดา หรือสายอันบาลานซ์ (unbalance line) จะใช้งานได้ดีในช่วงความยาวไม่เกิน 25 ฟุต (7.5 เมตร) ถ้าความยาวมากกว่านี้อาจมีปัญหาสัญญาณรบกวนและเสียงฮัมขึ้นได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการสูญเสียสัญญาณในย่านความถี่สูงควรใช้สายแบบ บาลานซ์ไลน์ ซึ่งสามารถใช้งา?ในช่วงความยาวได้หลายสิบเมตรทีเดียว โดยไม่มีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นเนื่องจากสายแบบบาลานซ์ไลน์ มีระดับสัญญาณที่ต่างกันภายในสายตัวนำทั้งสองของมันดังนั้นเสียงรบกวนหรือเสียงฮัมที่เกิดขึ้น จะถูกเหนี่ยวนำไปหักล้างกับอีกสายหนึ่ง
ระบบประกาศเสียงตามสาย_1

2. เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer)

สิ่งสำคัญในการเลือกเครื่องผสมสัญญาณคือจำนวนต้นทางของแหล่งกำเนิดเสียงว่ามีเท่าไหร่เราก็สามารถเลือกช่องสัญญาณให้เหมาะสมได้ เครื่องผสมสัญญาณเสียงบางตัวมีระบบขยายในตัวก็สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องซื้อเครื่องขยายเสียงเพิ่มแต่อย่างใด อีกทั้งมีช่องสัญญาณขาออกที่สามารถแบ่งโซนได้เลยโดยไม่ต้องเพิ่มเครื่องเลือกโซนแต่อย่างใด

3. เครื่องขยายเสียง (PA Amplifier)

การเลือกใช้ก็เลือกให้เหมาะสมกับจำนวนวัตต์ของลำโพงที่มีอยู่ในระบบ โดยจำนวนวัตต์ของลำโพงทั้งหมดรวมกันต้องไม่มากกว่าจำนวนวัตต์ของเครื่องขยายเสียง
ชนิดของสัญญาณอินพุตที่ป้อนให้กับเครื่องขยายเสียงมีอยู่ 2 แบบ คือ
  1. สัญญาณแบบไลน์อินพุต (line level / input) อยู่ในช่วง -20 dBm จนถึง +30 dBm ซึ่งเครื่องกำเนิดสัญญาณที่จัดอยู่ในไลน์อินพุตนี้ ได้แก่ พวกเทปเด็คจูนเนอร์ CD เป็นต้น
  2. สัญญาณแบบบาลานซ์ไลน์ (balanced line) อยู่ในช่วง -80 dBm จนถึง -20 dBm ตัวอย่างของตัวกำเนิดสัญญาณนี้ที่เห็นกันชัดที่สุดก็คือ ไมโครโฟนนั่นเอง



4. ลำโพง (Speaker)

ในระบบเสียงประกาศนั้นมีลำโพงให้เลือกใช้เยอะแยะมากมายตามรูปแบบการติดตั้ง เช่น ลำโพงชนิดฝังฝ้า ลำโพงแบบตู้ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ลำโพงแบบฮอร์น ถ้าเรารู้ว่าพื้นที่ๆเราจะไปติดตั้งเป็นแบบไหนเราก็จะสามารถเลือกชนิดของลำโพงได้ และลำโพงที่ใช้ในระบบเสียงประกาศก็ยังเป็นลำโพงชนิดพิเศษที่สามารถกันน้ำกันฝุ่นได้ โดยมาตรฐานก็จะแตกต่างกันไปเช่น IP44, IP66 เป็นต้น



รูปแบบการต่อระบบเสียงประกาศเบื้องต้น



วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ระบบไฟจราจร

1. แผนฝังงาน,รูปภาพ





2. กำหนด In put/Out put
               2.1 Out put
OUT1   Traffic Light 1 Red แสดงไฟสัญญาณจราจรสีแดง 1
OUT2   Traffic Light 1 Yellow แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเหลือง 1
OUT3   Traffic Light 1 Green แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเขียว 1
OUT4   Traffic Light 2 Red แสดงไฟสัญญาณจราจรสีแดง 2
OUT5   Traffic Light 2 Yellow แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเหลือง 2
OUT6   Traffic Light 2 Green แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเขียว 2
OUT7   Traffic Light 3 Red แสดงไฟสัญญาณจราจรสีแดง 3
OUT8   Traffic Light 3 Yellow แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเหลือง 3
OUT9   Traffic Light 3 Green แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเขียว 3
OUT10 Traffic Light 4 Red แสดงไฟสัญญาณจราจรสีแดง 4
OUT11 Traffic Light 4 Yellow แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเหลือง 4
OUT12 Traffic Light 4 Green แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเขียว 4  
               2.2 In put
IN 1 Star  เริ่มการทำงาน
IN 2 Stop หยุดการทำงานทุกอย่าง 

3.เงื่อนไขการทำงาน
 - Traffic Light 1 แสดงไฟสัญญาณจราจรสีแดง , Traffic Light 3  แสดงไฟสัญญาณจราจรสีแดง , Traffic Light 2  แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเขียว , Traffic Light 4 แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเขียว ทำงาน 15 วินาที

- TMR1 ทำงาน Traffic Light 2 แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเหลือง , Traffic Light 4 แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเหลือง ทำงาน 3 วินาที

-TMR2 ทำงาน Traffic Light 2  แสดงไฟสัญญาณจราจรสีแดง , Traffic Light 4 แสดงไฟสัญญาณจราจรสีแดง , Traffic Light 1 แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเขียว , Traffic Light 3 แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเขียว ทำงาน 15 วินาที

-TMR3 ทำงาน Traffic Light 1 แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเหลือง , Traffic Light 3 แสดงไฟสัญญาณจราจรสีเหลือง ทำงาน 3 วินาที

-TMR4 ทำงาน Reset TMR1,TMR2,TMR3,TMR4

4. Leder Diagram



5. Timing Diagram